Covering Disruptive Technology Powering Business in The Digital Age

image
ABeam Consulting ร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ในฐานะพันธมิตรร่วมขับเคลื่อนธุรกิจรถ EV เพื่ออนาคตในภูมิภาค
image
มิถุนายน 4, 2021 ข่าว

 

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) หรือ ABeam Thailand บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ประกาศการเป็นสมาชิกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ มีการเปิดตัวและขยายธุรกิจด้าน EV ในประเทศไทยรวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้แผนการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าว ABeam มีแผนที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับผลการวิจัยล่าสุดและแนวโน้มของตลาดในภูมิภาคที่จะขับเคลื่อนธุรกิจที่เกี่ยวกับ EV ในทุกส่วนของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การกระจายสินค้าไปจนถึงภาคการผลิตของประเทศไทย โดย ABeam เล็งเห็นว่าประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งของตลาดที่ดีที่สุดในภูมิภาค ทั้งภาคอุปสงค์และอุปทาน EV ในอนาคต

 

นายอิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ABeam Thailand ได้ประกาศการเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ในเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ โดย ABeam จะเข้าร่วมหารือกับผู้นำธุรกิจ OEM รายใหญ่ เกี่ยวกับอนาคตของภูมิภาคในการให้บริการดิจิทัลโซลูชั่น คำแนะนำเชิงกลยุทธ์ และข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับแนวโน้มด้านดิจิทัลล่าสุด รวมถึงพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของภาคยานยนต์ไทย

 

 

 

 

 

 

ABeam เองได้มีการทำการวิจัยทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อวิเคราะห์และจัดอันดับความก้าวหน้าของภาคยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ หรือ BEV (Battery Electric Vehicle) ของตลาดอาเซียน ทั้งในด้านอุปสงค์อย่างความต้องการของตลาดและอุปทานอย่างการวางแผนในการผลิตและนโยบายในการสนับสนุน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จสำหรับผู้บริโภค โดยประเทศไทยได้กลายเป็นผู้นำอย่างชัดเจนในเกือบทุกหมวดที่ได้รับการประเมินภายในภูมิภาค โดยได้อันดับสูงสุดด้านอุปทานของ BEV จะเป็นรองแค่เพียงสิงคโปร์ในแง่ของการจัดอันดับอุปสงค์เท่านั้น

ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEVs) กำลังค่อยๆ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่จดทะเบียนสะสมในประเทศไทยจำนวน 2,202 คันในปี 2563 และมีการเติบโตแบบปีต่อปีอยู่ที่ประมาณ 90% และ คาดว่าจะมีตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยมีผู้ผลิตรถยนต์หลายรายที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่ตลาดยานยนต์ไฟฟ้า เช่น MG และ Great Wall Motors เป็นต้น

รัฐบาลไทยเองก็มุ่งมั่นที่จะผลักดันให้ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ด้วยแนวคิดในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Society โดยตั้งเป้าว่าจะมีจำนวนรถยนต์ที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ หรือ Zero Emission Vehicles หรือ ZEV ซึ่งรวมถึงรถยนต์นั่งส่วนบุคคล BEV ที่ใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนอย่างเดียว และ FCEV ที่ใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน รวม 2,050,000 และ 6,400,000 คัน บนท้องถนนภายในปี 2573 และ 2578 ซึ่งคิดเป็น 11% และ 31% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมดโดยประมาณตามลำดับ ในแง่ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมด มีเพียงสิงคโปร์เท่านั้นที่มีเป้าหมายที่จะครอบคลุมมากกว่าประเทศไทย โดยตั้งเป้าไปที่ประมาณ 30% ภายในปี 2573 ทั้งๆที่ขนาดของตลาดและพื้นที่ที่เล็กกว่า

 

ในด้านของสถานีอัดประจุไฟฟ้า แผนของรัฐบาลไทยก่อนปี 2558 คือจะมีจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับ EV จำนวน 690 แห่งภายในปี 2579 เพื่อส่งเสริมการใช้งาน EV ทั้งนี้ คาดว่าตัวเลขจะแซงหน้าในไม่ช้า เนื่องจากปัจจุบันมีสถานีอัดประจุไฟฟ้า อยู่แล้วถึง 637 แห่ง ณ เดือนมีนาคม 2564 ซึ่งถ้านับจำนวนหัวชาร์จทั้งหมด ประเทศไทยจะมีจำนวนมากเป็นอันดับสองในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ด้วยจำนวนหัวชาร์จที่ต่างกันเพียงไม่กี่จุด (ประเทศไทย 1,974 สิงคโปร์ 2,408 จุด)

 

ในแง่ของการผลิต EV ในประเทศไทย ผู้ผลิตอย่าง FOMM และ Takano มีกำลังการผลิตอยู่แล้วโดยประมาณ 10,000 และ 800 คันต่อปี ตามลำดับ โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะมีกำลังการผลิตรวมกันขยายเพิ่มถึง 90,000 คันต่อปี ทันทีที่ SAIC (MG), Great Wall Motor และ Mine Mobility เริ่มการผลิต จากเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ไร้มลพิษให้ได้ 1,350,000 คัน ภายในปี 2578 ซึ่งจะคิดเป็น 50% ของยานยนต์ทั้งหมดที่ผลิตในเวลานั้น ในขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าจะผลิตให้ได้เพียง 600,000 คัน ภายในปี 2573 ส่วนการผลิตของประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนถูกกำหนดโดยผู้ผลิตร่วมกับ Vinfast ของเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีกำลังการผลิต 250,000 คัน ภายในปี 2568

“ในไม่ช้าประเทศไทยจะได้รับการยอมรับในการเป็นผู้นำตลาด EV ที่แข็งแกร่ง จากมุมมองของอุปสงค์และอุปทาน ทั้งการนำเสนอรุ่นรถยนต์ EV ที่หลากหลายอยู่แล้ว การมีผู้เล่นใหม่ที่แข็งแกร่งจากประเทศจีน ด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนจากภาครัฐในด้านการผลิตและความพร้อมด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่เกินเป้าหมาย ส่งผลให้ไทยก้าวไปอีกขั้น เรามองไปที่ตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เช่น อินโดนีเซียและเวียดนามด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่ทุกประเทศมีเหมือนกันคือ ต้องปรับการคิดและปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งรูปแบบธุรกิจโดยรวมใหม่ ยานยนต์ไฟฟ้าคืออนาคต แต่กำลังจะเป็นตัวสร้างการเปลี่ยนแปลง (Disruptor) ห่วงโซ่คุณค่าของตลาดในประเทศเหล่านั้น การเป็นสมาชิก EVAT ของ ABeam และการเป็นพันธมิตรด้านการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่มีอยู่จะช่วยให้เราสามารถให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในด้านการปรับตัวทางดิจิทัล ตลอดจนมุมมองทางธุรกิจ” นายโจนาธาน วาร์กัส รูอิซ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ยานยนต์อาเซียน บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวสรุป

(0)(0)